ชื่อผู้ร่วมกลุ่ม
สุจิต แสงวิโรจนพัฒน์
บุหงา โปซิว
1. ความหมายของ Wiki
Wiki คือซอฟต์แวร์(Software) ในรูปแบบเว็บ (Web Application) ที่อนุญาตให้ผู้เข้าชมสามารถแก้ไขเนื้อหาบนเว็บได้ในขณะที่กำลังออนไลน์ (Online) อยู่บนเบราว์เซอร์(Browser)
วิกิ(Wiki) ตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม(Ward Cunningham) เมื่อพ.ศ.2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ล(Perl) และติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวาย มีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง
ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม
เว็บไซด์ http://www.webopedia.com/ ได้ให้ความหมายของ Wiki ว่า เป็นเว็บไซด์ที่ร่วมกันทำโดยผู้เขียนหลายๆคน มีรูปแบบ คล้ายกับ blog ซึ่งมีผู้เขียนเพียงคนเดียว แต่สำหรับ Wiki ผู้เขียนหลายๆคนสามารถช่วยกัน เขียน แก้ไข ลบ หรือขยายความ ข้อความที่อยู่บนเว็บไซด์ได้โดยใช้การติดต่อปฎิสัมพันธ์กันด้วยโปรแกรมเบราว์เซอร์
เว็บไซด์ http://www.wiki.org/ ได้ให้ความหมายของ Wiki ว่า เป็นซอพท์แวร์ server ที่ยอมให้ผู้ใช้หลายๆคนสามารถสร้างและแก้ไขเนื้อหาบนเว็บไซด์ได้โดยเสรีโดยใช้ web browser นอกจากนี้ Wiki ยังสนับสนุน hyperlinks และมีโครงสร้างอย่างง่ายในการสร้างหน้าใหม่และการเชื่อมกันระหว่างหน้าภายในเว็บไซด์
1) เทคโนโลยีของวิกิวิกิเว็บเซิร์ฟเวอร์ (WikiWikiWeb Server) เป็นโครงสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ แต่ละหน้าจะมีลิงก์เป็นจำนวนมากที่ลิงก์ไปยังหน้าอื่น
2) เน้นการทำงานแบบง่าย ซึ่งผู้เขียนสามารถสร้างเนื้อหาบนเว็บได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML) โดยข้อมูลถูกเขียนร่วมกันด้วยภาษามาร์กอัป(MarkUp)อย่างง่ายโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)ในแต่ละหน้าจะถูกเรียกว่า"หน้าวิกิ" และเนื้อหาภายในจะเชื่อมต่อกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlinks)ซึ่งส่งผลให้ในแต่ละวิกิสามารถทำงานผ่านระบบที่เรียบง่ายและสามารถใช้เป็นฐานข้อมูล สำหรับสืบค้น ดูแลรักษาที่ง่าย
นิยามลักษณะของเทคโนโลยีวิกิคือความง่ายในการสร้างและแก้ไขหน้าหน้าเว็บ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือยืนยันจากเจ้าของเว็บนั้น
เว็บวิกิหลายแห่งเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปในขณะที่บางกรณี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าวิกิ บนเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้อาจจะต้องล็อกอินเพื่อแก้ไข หรือเพื่ออ่านบางหน้า (http://th.wikipedia.org/wiki/Wiki)3) ผู้ใช้งานไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มเติมพิเศษ สามารถใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิค
4) เป็นส่วนหนึ่งของ Web 2.0* Web 2.0 เป็นคำที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่โดยทิม โอไรล์ลี่ย์ ( เพื่อใช้อธิบายถึงวิวัฒนาการในปัจจุบันของเว็บ จากที่เป็นแค่ผลรวมของเว็บไซต์หลายๆแห่ง มาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านเว็บให้กับผู้ใช้ ผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้คาดว่าบริการต่างๆ บนเว็บ 2.0 จะมาแทนที่ซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมหลายๆ ประเภท
แม้จะยังไม่มีคำนิยามที่อธิบายถึงเว็บ 2.0 ได้ครอบคลุมที่สุด แต่หนึ่งในหลายตัวอย่างของความแตกต่างระหว่างเว็บ 1.0 และเว็บ 2.0 คือ การเปลี่ยนจากเว็บไซต์ที่มุ่งทำธุรกิจอย่างเดียวมาเป็นการมุ่งสร้างชุมชนหรือสังคมคนออนไลน์มากขึ้น เช่นการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านเว็บไซต์ การเปิดกว้างให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่คอนเทนท์ต่างๆ และการดาวน์โหลดข้อมูลแบบบิตทอร์เรนท์ เป็นต้น
รูปแบบการสอนที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียน การเรียนทางไกล หรือการเรียนทางอินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนมักเป็นการถ่ายทอด หรือนำเสนอความคิดเพียงทางเดียว แม้การอภิปรายที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็เป็นลักษณะการให้ข้อมูล หรือความรู้เป็นของแต่ละคน การนำเทคโนโลยีของ Wiki มาใช้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เกิดการขัดเกลา ผสมผสาน และการตรวจสอบ เกิดการสังเคราะห์ขึ้นเป็นความรู้ที่มาจากผู้เรียนหลายๆคน จึงถือได้ว่าเทคโนโลยี Wiki นับเป็นนวัตกรรมในการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง
ตัวอย่างหนึ่งของการนำ Wiki มาใช้ในการเรียนการสอน เป็นข้อความบรรยายตอนหนึ่ง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Wiki ของ ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://gotoknow.org/blog/thaikm/17330 )
ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ :
.....มีวิชาหนึ่งที่ดิฉันสอน ชื่อว่าคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้นที่ให้นักศึกษาเข้าใจศัพท์พื้นฐานในวงการออกแบบ การเขียนแบบด้วยวิชาคอมพิวเตอร์ โดยในคลาสนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท 12 คน เริ่มจากแนะนำให้เขารู้จักระบบ CMS (content management system ) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการเนื้อหา สามารถตั้งเป็น server ได้หลายรูปแบบด้วยกัน คือ weblog e-commerce e-learning จนกระทั่งมาถึง Wikipedia ซึ่งตรงนี้ได้นำมาใช้ในการออกแบบ ในการจัดการเนื้อหา หลังจากที่แนะนำ Wikipedia ให้เขารู้จักแล้ว ให้การบ้านไปเขียนใน Wikipedia โดยเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ 6 หัวข้อ ส่วนหัวข้อที่ 7 เป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องทางด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเทคนิคอันหนึ่ง คือให้เขาเขียนสิ่งที่เขาสนใจและเขารู้ ขอแค่หัวข้อเดียวเกี่ยวกับศัพท์ที่จะเรียน เนื่องจากนักศึกษาจำนวนหลายคน คนหนึ่งเข้าไปเขียนคนอื่นก็อ่านได้ เป็นตัวอย่างที่นักศึกษาสนใจ คือการ์ตูนที่วัยรุ่นสนใจ เช่น ปอมปอม มีคนเข้ามาช่วยกันแก้ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ก่อนที่จะให้กลับไปเขียนที่บ้านก็มีการ train ในชั้นเรียนก่อน หน้า web เว็บของ Wikipedia มีส่วนที่เรียกว่ากระบะทราย จะทำอะไรก็ได้ แล้วจึงปล่อยเขาลงสนามจริง ๆ คิดว่าคงไม่ก่อกวน Wikipedia เท่าไหร่ หลังจากที่เขากลับไปเขียน ตอนแรกๆ นักศึกษาจะทำ link ตัวหนา ตัวเอียงไม่เป็นก็มีอาสาสมัครใจดีช่วยกันเข้ามาเขียน เมื่อผ่านการตรวจสอบ ตอนหลังก็จะได้ออกมาเป็นบทความที่สวยงามได้ ศัพท์ตรงนี้เป็นศัพท์ที่เราจะสอบปลายภาคอยู่แล้ว มีคนเข้ามาเขียนหลายหัวข้อด้วยกัน สรุปว่าประสบความสำเร็จดี ......
4. Wiki มีรูปแบบไหนบ้าง
การใช้งาน Wiki ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของคนเฉพาะกลุ่ม เช่น องค์กรหรือบริษัทที่ต้องการใช้งานWiki โดยทั่วไปแบ่งการใช้งาน Wiki เป็น 2 ประเภท
คือใช้งานในกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม และใช้งานเป็นสาธารณะบนอินเทอร์เน็ต
Wiki สามารถนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น สามารถใช้งานเป็นเครื่องมือจัดการกับองค์ความรู้ (Knowledge Management Tools) การวางแผนและจัดการกับเอกสารต่างๆ หรือใช้ในระบบจัดการข้อมูล (Content Management System) ใช้ในกระดานสนทนา (Discussion Board)
ปัจจุบันมีหลายองค์กรได้นำเทคโนโลยี Wiki ไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น เป็นออร์แกไนเซอร์(Organizer)ภายในองค์กร การจัดการเรียนการสอน
ตัวอย่างระบบที่นำ Wiki มาใช้ เช่น
- Wiktionary : พจนานุกรมบนอินเทอร์เน็ต http://www.wiktionary.org/
- Wikitravel : แนะนำการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ http://www.wikitravel.org/
- Wikitosh : วิธีใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แมค ของแอปเปิ้ล http://www.wikitosh.com/
- Jurawiki : แหล่งรวมข้อมูลสำหรับนักกฎหมาย http://www.jurawiki.de/
- Wikibooks : หนังสือ และคู่มือต่างๆ http://www.en.wikibooks.org/wiki/Main_Page
- Wikinews : ข้อมูลข่าวสาร http://en.wikinews.org/wiki/Main_Page
Challborn และ Reimann (2005) รายงานผลการทดสอบโปรแกรมวิกิที่น่าสนใจดังนี้
- EditMe เป็นหนึ่งในซอพท์แวร์วิกิที่ใช้ง่ายที่สุด โดยสามารถใช้กับเว็บเบราเซอร์ Mozilla และ Internet Explorer ใช้รูปแบบ WYSIWYG (what-you-see-is-what-you-get) ผู้ใช้เพียงแต่สามารถใช้ word processor ได้ก็สามารถใช้ EditMe ได้แล้ว การอัพโหลดไฟล์ทำได้ง่ายเหมือนเวลาแนบไฟล์ไปในอีเมล์ มีหน้าต่างแยกสำหรับ comments ทำให้ผู้เข้ามาแก้ไขข้อความสามารถโต้ตอบกันได้ ผู้ใช้ต้องมี pass word ในการเข้าไปใช้ มีการบันทึกการแก้ไขและผู้ใช้สามารถเข้าไปดูการแก้ไขก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม EditMe ไม่สามารถใช้กับเว็บเบราเซอร์ Safari
- Media Wiki จัดทำโดย Wikimedia Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร ใช้ภาษา PHP และใช้ MySQL โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการรายเดือน $15 ผู้ใช้สามารถนำมาปรับใช้ในองค์กรหรือใช้บริการของ hosts ภายนอก Media Wiki ใช้ engine ตัวเดียวกับ WikiPedia DisinfoPedia WikiQuote WikiBooks WikiTravel มี features มากมายให้เลือกใช้ ผู้สอนสามารถศึกษาและเลือกนำมาใช้ในการสอนได้ มี sidebar สามารถตรวจดูการเขียนและการแก้ไขของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้สอนที่ต้องการตรวจดูว่ากลุ่มผู้เรียนแต่ละคนได้เข้ามาเขียนมากน้อยพียงไร การแก้ไขสามารถแยกเป็นส่วนๆได้ มีหน้าต่าง discussions แยกจากหน้าเขียนงาน สนับสนุน Unicode สามารถดูรูปแบบที่สั่งพิมพ์ได้ และมี RSS feeds แจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงการแก้ไขล่าสุด Media Wiki ยอมให้ผู้ดูแลระบบอนุญาตผู้ใช้ในระดับต่างๆกัน เช่นสามารถกำหนดการล็อคบางหน้า หรือยอมให้ผู้ใช้บางคนเข้าไปแก้ไขได้ในบางหน้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนที่ต้องการป้องกันไม่ให้เนื้อหาสูญหายหรือแก้ไขโดยผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดไฟล์และรูปภาพได้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้ผู้สอนสามารถสั่งระงับการใช้งานได้ในกรณีที่จะป้องกันการอัพโหลดไฟล์ที่ไม่พึงประสงค์
- Seedwiki เป็นบริการวิกิที่ผู้ใช้สามารถเลือกการเข้าใช้หลายแบบ แบบแรก “basic account”ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย การเข้าใช้ประกอบด้วย 3 วิกิและใช้เขียนงานได้ 50 หน้า แบบที่สอง “blue account” เสียค่าใช้จ่ายเดือนละ $9.95 สามารถใช้วิกิได้โดยไม่จำกัดจำนวนวิกิและจำนวนหน้า ผู้ใช้ต้องมี password แบบที่สาม “red account” เสียค่าใช้จ่ายเดือนละ $19.95 การเข้าใช้จะเหมือนแบบที่สอง แต่จะเพิ่ม features ว่าผู้ใช้ต้องเป็นสมาชิกเท่านั้น และยังสามารถใช้ฐานข้อมูลเพื่อสร้างการทำงานร่วมกันตามที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบใดไม่มีการจำกัดจำนวนผู้ใช้ Challborn และ Reimann (2005) ได้ทดสอบการเข้าใช้แบบที่หนึ่ง พบว่าใช้ง่าย การลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้สามารถทำได้โดยง่าย มีการป้องกันโดยใช้ password สำหรับหน้าหลัก รายชื่อผู้ใช้และรายชื่อของผู้ใช้ที่กำลังออนไลน์อยู่ ณ ขณะนั้น ผู้ใช้สามารถสร้าง Seedwiki พื้นฐาน โดยเพียงตั้งชื่อวิกิ ชื่อกลุ่มของวิกิและคำอธิบาย (เช่น กีฬา) เลือกภาษาที่ต้องการ ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ และการยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน เพียงเท่านี้หน้าแรกของวิกิจะปรากฏขึ้นมาทันที รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่ผู้ใช้ต้องรู้เพื่อการทำงานบนวิกิ Seedwiki สามารถลิงก์กับเว็บเพจภายนอกได้ ส่งอีเมล์ และแนบไฟล์ชนิดต่างๆได้ (Word, Excel. PowerPoint) Seedwiki จะบันทึกข้อความของทุกๆหน้าที่ผู้ใช้เขียนขึ้น ยอมให้ผู้ใช้สามารถเรียกหน้าที่ลบไปแล้วกลับมาได้ มีส่วนของคำถามที่ผู้ใช้ถามบ่อยๆ แผนที่ไซด์และคู่มือการใช้ ผู้ใช้สามารถอีเมล์หรือโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ Seedwiki มี “sandbox” สำหรับการทดสอบและการฝึก และผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากผู้พัฒนาระบบได้ Seedwiki เก็บข้อมูลในรูปของ Unicode และมี fonts หลายรูปแบบให้เลือก รวมทั้ง RSS feeds
- Socialtext เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทำขึ้นสำหรับองค์กรธุรกิจ ใช้สำหรับการจัดตารางเวลา การบริหารโครงการและการแลกเปลี่ยนข้อมูล Socialtext เหมาะสำหรับงานที่ต้องร่วมกันทำ โดยมีให้ทั้งในส่วนของบล็อกและวิกิ แต่ผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ $30 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราค่อนข้างสูงสำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษา ถึงแม้ว่าจะมีการให้ส่วนลดพิเศษกับองค์กรที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร Socialtext เป็นโปรแกรมที่มี features ระดับมืออาชีพที่ใช้ง่าย และมีส่วนสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือและสอนการใช้โปรแกรมด้วย
- Swiki.net เป็นบริการชุมชนวิกิที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำขึ้นโดยใช้แนวความคิด WikiWikiWeb ซึ่งพัฒนาโดย Ward Cunningham ขั้นตอนการเข้าใช้สะดวกง่ายดายใช้เวลาน้อยกว่า 1 นาที โดยใส่ชื่อผู้ใช้ อีเมล์ ข้อมูลส่วนตัว การยอมรับเงื่อนไขลิขสิทธิ์ และเลือกชื่อในการเข้าใช้ตลอดจน password ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมใดๆทั้งสิ้น Swiki บันทึกข้อมูลได้ 25 MB สามารถใส่ภาพ แนบเอกสารและสร้างลิงค์ได้
นอกจากนี้ยังมี WikkiTikkiTavi และ InterWiki
5. การนำ Wiki มาประยุกต์ในการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง
Duffy และ Bruns (2006) ได้เสนอการนำวิกิมาใช้ในการเรียนการสอนดังนี้
- นักศึกษาสามารถใช้วิกิเป็นตัวเอกสารหลักในการร่วมกันพัฒนาโครงงานวิจัย
- นักศึกษาสามารถใช้วิกิเป็นตัวเอกสารหลักในการเพิ่มบทสรุปความคิดของตนเองที่มีต่อรายการหนังสือที่ต้องอ่านประกอบการเรียนและร่วมกันเขียน annotated bibliography
- ในการเรียนการสอนทางไกล ผู้สอนสามารถพิมพ์หลักสูตรของวิชา เอกสารประกอบการเรียนบนวิกิ โดยที่ผู้เรียนสามารถเพิ่มเติมเสนอความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อวิชาที่เรียนไดโดยตรง
- วิกิสามารถใช้เป็นฐานความรู้ของผู้สอน ในการร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนในเรื่องต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาจัดหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการสืบค้นได้ในภายหลัง
- วิกิสามารถนำมาใช้ในการสร้างกระบวนทัศน์ โดยวิธีการระดมสมอง เพราะจะเป็นตัวเชื่อมให้เกิดเครือข่ายของแหล่งข้อมูลต่างๆ
- วิกิสามารถนำมาใช้แทนที่โปรแกรมในการนำเสนอ เช่น PowerPoint เพราะผู้เรียนสามารถร่วมกันเพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลในการนำเสนอได้ในเวลานั้นๆ
- ใช้เป็นเครื่องมือในการเขียนร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ใช้ในการประเมินผลวิชาที่เรียน โดยผู้เรียนร่วมกันเขียนสิ่งที่แต่ละคนได้จากการเรียนวิชานั้นๆ
6. ข้อดีของ Wiki ในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง
1) สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaboration) กับผู้เรียนด้วยกัน และกับผู้สอนได้เป็นอย่างดี สามารถแสดงความคิดเห็น และการให้ความไว้วางใจที่จะให้สมาชิกในกลุ่มสามารถที่จะแก้ไข ข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะให้บทความ หรือ ความรู้นั่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ (http://gotoknow.org/blog/memecoder/9220) ได้แสดงความเห็นดังนี้
......เจตนาการใช้งานวิกิก็เพื่อการเขียนเอกสารร่วมกัน (Collaborative Writing) โดยจัดเรียงเนื้อหาตามโครงสร้างของเอกสารนั้นๆ เอกสารที่เขียนอาจจะเป็นคู่มือในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีโครงสร้างสามารถเขียนร่วมกันและเชื่อมต่อหากันในเนื้อหาของเอกสารได้ ดังนั้นข้อดีของวิกิก็คือ ใช้เขียนเอกสารที่เนื้อหามีโครงสร้าง (Structured Contents) ร่วมกันได้ดี และเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเอกสารที่มีโครงสร้างนั้นได้รวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลง.....
2) ส่งเสริมคุณธรรมให้กับผู้เรียน ในด้านความสามัคคี ความเสียสละ ความร่วมมือร่วมใจ ในการแบ่งปันความรู้
7. ข้อจำกัดของ Wiki ในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง
1) เอกสารที่เขียนต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วก่อนเปิดโอกาสให้มีการเขียนร่วมกันได้ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาในการเชื่อมต่อและการจัดเรียงเนื้อหา (Structural Problems)
2) วิกิเหมาะต่อการสกัดความรู้ชัดแจ้งให้อยู่ในรูปเอกสารที่มีโครงสร้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง นอกจากนี้ “วิกิ” ในภาพรวมยังหมายถึงไวยกรณ์ในการเขียนเนื้อหาเพื่อให้ปรากฎบนเว็บที่ง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษา HTML ด้วย
3) การเขียนข้อความทีไม่เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
What is Wiki? http://www.wiki.org/wiki.cgi?WhatIsWiki Retrieved 4 มิถุนายน 2550http://www.webopedia.com/TERM/w/wiki.html Retrieved 4 มิถุนายน 2550
http://en.wikipedia.org/wiki/Wiki Retrieved 4 มิถุนายน 2550
Challborn, C. & Reimann, T. (July 2005). Wiki products: a comparison. International Review of Research in Open and Distance Learning. 6(2). Retrieved 5 June 2007 from http://www.irrodl.org/index.php/irrodl/article/view/229/859
Augar, N., Raitman, R. & Zhou, W. (2004). Teaching and learning online with wikis. Proceedings of the 21st ASCILTTE Conference 2004. Retrieved 5 June 2007 from http://www.ascilite.org.au/conferences/perth04/procs/pdf/augar.pdf
Duffy, P. & Bruns, A. (2006). The use of blogs, wikis and RSS in education: a conversation of possibilities. Proceedings of the Online Learning and Teaching Conference 2006. Retrieved 6 June 2007 from https://olt.qut.edu.au/udf/OLT2006/gen/static/papers/Duffy_OLT2006_paper.pdf2006/gen/static/papers/Duffy_OLT2006_paper.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น